สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 7
โครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรฯ
หลักสูตรฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ การเรียนรู้ในห้องเรียน การจัดท้าเอกสาร วิชาการ
รายบุคคล และการศึกษาดูงานนอกสถานที่
ในส่วนของเนื้อหาการเรียนรู้ในห้องเรียนประกอบด้วย หมวดวิชา 7 หมวด จ้านวน 105 ชั่วโมง ดังนี้
หมวดวิชาที่ 1: ภาพรวมของหลักสูตร 3 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 2: หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 28.5 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 3: แนวโน้มและบริบทของการเปลี่ยนแปลง 18 ชั่วโมง
ในยุค Digital Economy
หมวดวิชาที่ 4: นโยบายสาธารณะ 18 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 5: การบริหารภายใต้โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง 15 ชั่วโมง
หมวดวิชาที่ 1 : ภาพรวมของหลักสูตร (3 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงการชี้แจงวัตถุประสงค์ ระบบการศึกษาเรียนรู้ เงื่อนไขและเกณฑ์ต่างๆ ของหลักสูตรฯ ภาพรวมหลักสูตรการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับนักบริหารระดับสูง ตลอดจนการอธิบายเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหมวดวิชาต่างๆ
หมวดวิชาที่ 2 : หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (28.5 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงกรอบแนวคิดและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) และการกำกับดูแลตนเองที่ดี/บรรษัทภิบาล (Corporate.Governance) ตลอดจนแนวทางปฏิบัติและเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมสาระในภาพรวมและเฉพาะในบางเรื่องที่มีความสำคัญ เช่น ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น รวมจนถึงประเด็นการบริหารกิจการบ้านเมืองร่วมสมัย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการวิเคราะห์และพัฒนาองค์การ การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและกระบวนงาน ซึ่งประกอบด้วย 10 หัวข้อวิชา ดังนี้
หัวข้อวิชาที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาล
-> แนวคิดและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน
หัวข้อวิชาที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาล
-> การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ
- พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-> การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคเอกชน
-> เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
- หนทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
หัวข้อวิชาที่ 3 จรรยาข้าราชการและจริยธรรมนักบริหาร
-> ขอบเขต สาระสําคัญและรายละเอียดของประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้าราชการประเภทต่างๆ
-> รูปแบบและวิธีการบริหารจริยธรรมในองค์การ
-> กรณีตัวอย่างที่เป็นเลิศของการบริหารจริยธรรมที่เป็นเลิศในองค์การภาครัฐและ ภาคเอกชน
หัวข้อวิชาที่ 4 ความโปร่งใส
-> การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ (Sharing Information)
-> การปฏิบัติราชการแบบเปิดเผย (Open Government)
- การประกาศขั้นตอนการปฏิบัติราชการเพื่อให้บริการประชาชนและกําหนด ระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน
- การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐด้วย Open Data
หัวข้อวิชาที่ 5 บทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
-> แนวทางและวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน
- ขอบเขต ระดับ และเทคนิควิธีการมีส่วนร่วมของประชาชน (ตาม International Association of Public Participation: IAP2)
-> ปัญหาอุปสรรคของการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมือง
-> กรณีตัวอย่างที่เป็นเลิศในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
- หน่วยงานของประเทศไทยที่ได้รับรางวัล ก.พ.ร. และ/หรือ UN Public Services Awards
หัวข้อวิชาที่ 6 การถ่ายโอนอำนาจและภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในรัฐวิสาหกิจ
-> หลักการและหลักเกณฑ์ในการถ่ายโอนภารกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-> แผนถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-> กระบวนการดําเนินการตามแผนการถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-> ปัญหาและอุปสรรคในการรับโอนภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-> การประเมินประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลของการถ่ายโอนภารกิจที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
-> ทิศทางในอนาคตของการถ่ายโอนภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-> แนวทางการส่งเสริมธรรมาภิบาลในรัฐวิสาหกิจ
หัวข้อวิชาที่ 7 หลักนิติธรรมและการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครอง
-> หลักนิติธรรม
-> ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายปกครอง
-> กระบวนการในการเยียวยาแก้ไขปัญหา
หัวข้อวิชาที่ 8 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
-> ลักษณะและองค์ประกอบของการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม
-> ความสําคัญและความสัมพันธ์ระหว่างการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับ ผลประโยชน์ส่วนรวม กับการทุจริตคอรัปชั่น
หัวข้อวิชาที่ 9 ประเด็นธรรมาภิบาลร่วมสมัย 1: มาตรการในการแก้ปัญหาทุจริต คอร์รัปชั่น (การอภิปราย)
-> สาเหตุปัญหาและรูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย
-> ยุทธศาสตร์ มาตรการและกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติ มิชอบของไทย
- ปปช. สตง. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
- รัฐบาล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปท. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ปปง. ก.พ. ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลาง ฯลฯ
หัวข้อวิชาที่ 10 ประเด็นธรรมาภิบาลร่วมสมัย 2: การพัฒนาธรรมาภิบาลใน ประเทศไทย –ปัญหาอุปสรรคและทางออก
-> อุปสรรคต่อการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในประเทศไทย
-> กลยุทธ์/แนวทางการยกระดับธรรมาภิบาลในประเทศไทย
หมวดวิชาที่ 3 : แนวโน้มและบริบทของการเปลี่ยนแปลงในยุค Digital Economy (18 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มโลก (Global Trends) และ การเปลี่ยนแปลงระดับโลกาภิวัตน์ เช่น การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ การแข่งขันทางการค้า การประกอบธุรกิจข้ามชาติ การเมืองระหว่างประเทศ ภัยพิบัติสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การบริการงานภาครัฐรวมตลอดถึงระบบธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวข้อวิชา ดังนี้
หัวข้อวิชาที่ 1 แนวโน้มโลกและการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษ 2020
-> แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ เช่น ประชากร อาหาร พลังงาน ภัยพิบัติจากภาวะ โลกร้อนการก่อการร้ายสากล ฯลฯ
-> ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อประเทศไทย
-> แนวคิดเชิงนโยบายสาธารณะที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
หัวข้อวิชาที่ 2 ประเทศไทย 4.0 กับการแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจโลก
-> Thailand 4.0
-> Thailand’s Position in the World Economy
หัวข้อวิชาที่ 3 ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศแลดผลกระทบ ต่อประเทศไทย
-> โครงสร้างและความสัมพันธ์ของประเทศมหาอํานาจ เช่น สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย
-> ท่าทีและนโยบายต่างประเทศของประเทศมหาอํานาจที่มีต่อประเทศไทย ทั้งด้าน อิทธิพลกดดัน และความร่วมมือ
-> ท่าทีและตําแหน่งทางการเมืองที่เหมาะสมที่ประเทศไทยควรปฏิบัติต่อประเทศ มหาอํานาจ
หัวข้อวิชาที่ 4 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่และการพัฒนา
-> ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านชีวภาพ การแพทย์ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีสื่อสารการคมนาคม-ขนส่ง ฯลฯ
-> การขับเคลื่อนประเทศไทยโดยนโยบาย Digital Economy and Society
หัวข้อวิชาที่ 5 ประเด็นการเปลี่ยนแปลงร่วมสมัย –“ความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบต่างๆ : โอกาสและภัยคุกคาม”
-> พัฒนาการและอนาคตของความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบต่างๆ ที่ส้าคัญ รวมถึงประชาคมอาเซียน
- ผลกระทบที่มีต่อโครงการส้าคัญของประเทศเช่นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
-> โอกาสและยุทธศาสตร์การพัฒนาในความร่วมมือของกลุ่มประเทศ CLMVT ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย
หัวข้อวิชาที่ 6 ประเด็นนโยบายสาธารณะร่วมสมัย ทิศทางและประเด็นการพัฒนา ประเทศไทยอย่างยั่งยืน ในบริบทของการเปลี่ยนแปลง
-> ทิศทางและการพัฒนาประเทศและการลงทุนโครงการขนาดใหญ่รวมตลอดถึงปัจจัยความเสี่ยง ต่อธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของภาครัฐ และบรรษัทภิบาลของธุรกิจเอกชน รวมทั้งความเหลื่อมลํ้าทางสังคม
-> มุมมองเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของมาตรการทางกฎหมายใน บริบทของธรรมาภิบาล
เช่น ประเด็นว่าด้วยการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วน บุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวมและประเด็นอื่นๆ เช่น การป้องกันการผูกขาดเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมในการด้าเนินธุรกิจและรักษาผลประโยชน์ของประชาชนรวมถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ฯลฯ
หมวดวิชาที่ 4 : นโยบายสาธารณะ (18 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงกระบวนการกําหนดนโยบายสาธารณะและการบริหารนโยบายสาธารณะระบบและ กลไกในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินทั้งในส่วนของฝ่ายบริหาร และจากภายนอกตลอดจน การจัดความสัมพันธ์และประสานร่วมมือกันในแนวแนวดิ่ง (Vertical Governance) และแนวนอน (Horizontal Governance) ของบรรดาตัวแสดงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Policy Actors) และการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในเรื่องที่มีความสําคัญในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวข้อวิชา ดังนี้
หัวข้อวิชาที่ 1 กระบวนการตัดสินใจและการบริหารนโยบายสาธารณะของไทย
-> เครื่องมือเชิงนโยบายสาธารณะในการบริหารราชการแผ่นดิน
-> กระบวนการนโยบายสาธารณะของไทย
หัวข้อวิชาที่ 2 การตรวจสอบและถ่วงดุลในการบริหารราชการแผ่นดิน : แนวทาง การดำเนินงานและข้อจำกัด
-> ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
- รัฐสภา องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ Watchdogs และภาคประชาชน ฯลฯ
-> ปัญหาความเพียงพอ (มาก-น้อย) และประสิทธิผลของการตรวจสอบและถ่วงดุล
หัวข้อวิชาที่ 3 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชนและประชาชน (การ
ทำงานในแบบประชารัฐ) (การอภิปราย)
-> การบูรณาการในการทํางานร่วมกันระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค- ส่วนท้องถิ่น ( Multi-level Governance / Intergovernmental Relations and Management )
-> การแสวงหาความร่วมมือในการทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐ กับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชนและประชาชน (Partnerships / Intersectoral Relations and Management)
-> ปัญหาอุปสรรคและโอกาสความเป็นไปได้ของการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบ ร่วมมือกันทุกภาคส่วนในประเทศไทย
หัวข้อวิชาที่ 4 ประเด็นนโยบายสาธารณะร่วมสมัย (1)
-> การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานชีวภาพ (Bioeconomy)
-> การปฏิรูปกฎหมาย : การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment)
หัวข้อวิชาที่ 5 ประเด็นนโยบายสาธารณะร่วมสมัย (2)
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับใหม่) พ.ศ. 2560 และผลกระทบต่อการ บริหารราชการแผ่นดิน”
หัวข้อวิชาที่ 6 ประเด็นนโยบายสาธารณะร่วมสมัย (3)
-> ยุทธศาสตร์ชาติ
-> แผนแม่บทต่าง ๆ
-> การปฏิรูปประเทศ
หมวดวิชาที่ 5 : การบริหารภายใต้โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนสู่ Digital Government ( 15 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึง แนวคิด หลักการและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน ตั้งแต่การกําหนดยุทธศาสตร์ทิศทางของ องค์การ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ใน การบริหารงาน การกํากับควบคุมการดําเนินงานขององค์การ และประเด็นร่วมสมัยในการบริหาร จัดการภาครัฐ โดยประกอบด้วย 5 หัวข้อวิชา ดังนี้ หัวข้อวิชาที่ 1 การวางยุทธศาสตร์องค์การ
-> ความท้าทายของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ทําให้ต้องมองกว้าง มองไกล คิดและทํา อย่างมีกลยุทธ์
-> การวางยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและเพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์การ
หัวข้อวิชาที่ 2 การวิเคราะห์และประเมินโครงการ
-> การบริหารโครงการในฐานะเครื่องมือในการพัฒนาอย่างมีแบบแผน
-> การวิเคราะห์โครงการในด้านต่างๆ (เศรษฐกิจ สังคม เทคนิค สิ่งแวดล้อม)
-> กรณีตัวอย่างโครงการพัฒนาประเทศ เช่น Hong Kong Airport Core Program (โครงการพัฒนาสนามบิน Chek Lap Kok ระบบคมนาคมขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง และการพัฒนาเมืองใหม่) หรือโครงการพัฒนา Marina Bay ของสิงคโปร์เป็นต้น
-> ตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์เช่น Microsoft Project Management ในการวางแผนและติดตามประเมินโครงการ
หัวข้อวิชาที่ 3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
-> แนวคิดและหลักการจัดระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
-> การใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากรายงานการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
-> กรณีตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากรายงานการควบคุมภายในและการบริหาร ความเสี่ยง
หัวข้อวิชาที่ 4 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
-> ความสําคัญจําเป็นของการเสริมสร้างขีดสมรรถนะในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การในยุคปัจจุบัน
-> หลักการ ขั้นตอนและรูปแบบต่างๆ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
-> การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและการจัดการกับแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
-> การทําให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน
หัวข้อวิชาที่ 5 รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government)
-> การเตรียมความพร้อมสู่รัฐบาลดิจิทัลเพื่อเป็นพื้นฐานความยั่งยืนให้แก่ประเทศ บนหลักธรรมาภิบาลที่ดี
-> การนำนวัตกรรม FinTech และด้าน Digital Technology มาขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งสู่สังคมไร้เงินสด
หมวดวิชาที่ 6 : ภาวะผู้นำ (12 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ครอบคลุมถึงแนวคิดคุณลักษณะและบทบาทของผู้นําเชิงธรรมาภิบาลในศตวรรษที่21ความเป็นผุ้นํายุคใหม่ที่มีพันธะ
ความรับผิดชอบและยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการการบริหารในภาวะวิกฤติและความแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมรวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ของผู้นําระดับ
นานาชาติ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติและ การประพฤติปฎิบัติของผู้นําเชิงธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อวิชา
หัวข้อวิชาที่ 1 ภาวะผู้นำและแนวทางการบริหารจัดการของผู้นำแบบธรรมาภิบาล
-> แนวคิด ความหมาย รูปแบบของผู้นํารูปแบบต่างๆ
-> แนวทางการบริหารจัดการของผู้นําแบบธรรมาภิบาล
-> ปัจจัยความสําเร็จของการพัฒนาภาวะผู้นําแบบธรรมาภิบาล
หัวข้อวิชาที่ 2 บทบาทของผู้นำยุคใหม่ (Leader of the Future)
-> แนวคิด คุณลักษณะสําคัญ และวิสัยทัศน์ของผู้นํายุคใหม่
-> บทบาทเชิงธรรมาภิบาลและภาระรับผิดชอบ (Accountability) ของผู้นํายุคใหม่ ทัังภายในองค์การและต่อสาธารณะชน
หัวข้อวิชาที่ 3 ผู้นำกับหลักนิตธิรรมและภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ในการบริหาร ในภาวะวิกฤติแลดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม
-> กฎหมายกับผู้นําที่มีธรรมาภิบาล
-> กรอบแนวคิดการบริหารยุทธศาสตร์และการบริหารภาวะวิกฤติ
-> หลักการบริหารจัดการภาวะวิกฤติและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มี พื้นฐานอยู่บนหลักธรรมาภิบาล
หัวข้อวิชาที่ 4 ประสบการณ์เกี่ยวกับลักษณะการเป็นผู้นำแบบธรรมาภบิาล
-> ถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นผู้นําและนําเสนอแบบอย่างของผู้นําตัวแบบ
-> แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างนักศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติและการประพฤติปฎิบัติ ของผู้นําเชิงธรรมาภิบาล
หมวดวิชาที่ 7 : สรุปรวบยอด ( 10.5 ชั่วโมง)
เนื้อหาในหมวดวิชานี้ประกอบด้วย
-> วิชา “ประเด็นร่วมสมัยตามความสนใจของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ” จ้านวน 3 ชั่วโมง เป็นการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม
-> สรุปและถอดบทเรียนในประเด็นส้าคัญๆ ที่ได้รับจาก การเรียนรู้ในหลักสูตรฯ และการสรุปการศึกษาดูงานต่างประเทศ ด้านธรรมาภิบาล โดยเน้น ถึงประโยชน์และการน้าไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติให้บังเกิดผลตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรฯ ตลอดจนระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เข้ารับการศึกษา เพื่อน้าไปพัฒนาหลักสูตรต่อไป จ้านวน 7.5 ชั่วโมง
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ส้านักงาน ก.พ.ร.
.................................................................................